รู้ไว้ไม่เสียหาย! 10 วิธีป้องกันตัวเองจาก Phishing (Part Two)

รู้ไว้ไม่เสียหาย! 10 วิธีป้องกันตัวเองจาก Phishing (Part Two)

รู้ไว้ไม่เสียหาย! 10 วิธีป้องกันตัวเองจาก Phishing (Part Two)

คราวที่แล้ว Monster Connect ได้ลงบทความเกี่ยวกับ 10 วิธีป้องกันตนเองจาก Phishing พาร์ทแรกไปแล้ว เรามาต่อกันที่ 5 ข้อหลังกันเลย

 

  1. หมั่นอัปเดต web browser ใช้อยู่เป็นประจำ – ปกติแล้ว web browser ต่างๆ จะมี patch ให้โหลดเพิ่มตลอดเวลาอยู่แล้ว เพื่อป้องกัน phishing และตัว web browser เอง บางครั้งก็ขึ้นข้อความเตือน user ให้โหลด update patch อยู่เรื่อยๆ แต่ user หลายๆ คอยๆ แต่ รนข้อความเตือน ยู่เป็นประจำ – ปนมักปล่อยผ่านไป การละเลยแบบนี้จะทำให้ user เองที่เสี่ยงกับการถูก phishing แนะนำให้โหลด patch ใหม่ทันที เวลาที่มันขึ้นแจ้งเตือน

  1. ใช้ Firewall – Firewall ตามชื่อของมันที่แปลตรงๆ ได้ว่า “กำแพงไฟ” มีหน้าที่เป็นปราการป้องกันระหว่าง user กับภัยคุกคามจากข้างนอกอยู่แล้ว ซึ่ง user เองก็ควรใช้ Firewall ทั้ง 2 ประเภท Desktop Firewall และ Network Firewall ทั้งสองแบบต่างกันที่ Desktop Firewall จะเป็นซอฟท์แวร์ แต่ Network Firewall จะเป็นฮาร์ดแวร์ การติดตั้ง Firewall ทั้งสองแบบจะช่วยลดความเสี่ยงจากมิจฉาชีพที่จะเจาะเข้ามาใน network ได้เป็นอย่างดี
  2. ระวังหน้าต่าง pop up ต่างๆ เอาไว้ – pop up ต่างๆมักจะเป็นเว็บไซต์ปลอมๆ ที่ตกแต่งหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ที่มีอยู่จริง หลอกให้ user เชื่อและคลิกเข้าไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใน web browser ต่างๆ ที่ใช้งานกันทั่วไป ก็จะมีฟังก์ชั่นบล็อก pop up เหล่านั้นอยู่แล้ว และที่สำคัญถ้าเราเผลอคลิกเข้าไปยัง pop up อันนั้นแล้ว เวลาจะออก อย่าคลิกตรงไอคอนหรือปุ่ม cancel (ซึ่งนั่นก็จะเป็นตัวหลอกเช่นกัน) ให้คลิกปิดที่เครื่องหมายกากบาทตรงขอบของหน้าต่าง pop up อันนั้นแทน
  3. อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทางออนไลน์ – ปกติแล้วการแชร์ข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวข้องกับการเงินเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเวลาออนไลน์อย่แล้ว ถ้าไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์ที่บอกให้เราระบุข้อมูลส่วนตัวลงไปนั้นเป็นเว็บไซต์จริงๆ หรือเรากำลังโดน phishing กันแน่ ให้โทรไปติดต่อที่ผู้ดูแลเว็บไซต์นั้นโดยตรง แต่ข้อพึงสังเกตข้อหนึ่งคือ เว็บไซต์ที่ปลอดภัยจะไม่ส่งอีเมลที่แนบลิงค์มาให้ แล้วให้ user คลิกไปที่ลิงค์ที่แนบมากับเมล แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป

เช่นเดียวกัน อย่าเขียนอีเมลที่บอกข้อมูลส่วนตัวของเราแล้วส่งไปให้คนอื่น ถ้าไม่แน่ใจว่าลิงค์ที่แนบมากับอีเมลนั้นๆ มันปลอดภัยหรือไม่ ให้เอาเมาส์ไปวางตรงลิงค์นั้นก่อนคลิก เพื่อเช็ค url ทุกครั้ง และอย่าลืมสังเกตว่าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า https

  1. ต้องติดตั้ง Anti Virus ในเครื่องเสมอ – ซอฟท์แวร์ Anti Virus จะช่วยป้องกันปัญหาภัยคุกคามที่แฝงมาทางออนไลน์ได้เป็นอย่างดี มันจะทำหน้าที่ด่านตรวจที่แสกนไฟล์ต่างๆ ที่เข้ามาในเครื่องของเรา เวลาที่เราต่ออินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ user ต้องเปิดใช้ฟังก์ชั่น anti spyware กับ firewall setting ที่อยู่ตัวซอฟท์แวร์ตลอดเวลา ที่สำคัญติดตั้งแล้วต้องคอยอัปเดตอยู่เรื่อยๆ

 

นี่คือ 10 ข้อสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งานทุกคนปลอดภัยในโลกออนไลน์ และเมื่อ user ปลอดภัยจาก Phishing องค์กรก็จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพตามไปด้วย

__________________________
ถ้าท่านใดสนใจทดสอบ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
💻 : www.monsterconnect.co.th
☎ : 02-392-3608
📱 : [email protected]

Monster Connect
Monster Connect